วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อความหลุดพ้น โดยหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

“ธรรมะเพื่อความหลุดพ้น” เป็นธรรมเทศนาตอนหนึ่งที่ชอบมาก อยากให้ได้ฟังกัน

 โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช


สถานการณ์ศาสนาเราเข้าขั้นวิกฤต อะไรเป็นธรรมเป็นวินัยเริ่มสับสนไปหมดแล้ว คนก็ไม่เข้าใจ พวกเราเป็นชาวพุทธแต่เราไม่รู้จักศาสนาพุทธ บางคนได้เห็นข่าวบอกว่ามีพระทำไม่ดี ก็บอกเลิกนับถือศานาพุทธ นี่เป็นความไม่ฉลาด ศาสนาพุทธไม่ใช่ของพระนะ พระในเมืองไทยมีสองแสน ฆารวาสมีเจ็ดสิบกว่าล้านคน  ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ แต่เจ็ดสิบกว่าล้านคนไม่สนใจ ศาสนาอยู่ไม่ไหว สังคมเราเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว เศรฐกิจก็เปลี่ยน การเมืองก็เปลี่ยน ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงหมด เมื่อศาสนาเราถ้าไม่สามารถนำหลักธรรมคำสอนมาถ่ายทอดให้คนรุ่นใหม่ฟังได้ นั่นก็สูญ

ถ้าเราเข้าใจพระพุทธศาสนา เราจะรู้ว่า นี่เป็นสมบัติที่มีคุณค่ามากที่สุดอย่างนึงของชาติเรา บรรพบุรุษเลือกสรรศาสนาที่มีเหตุมีผล ไม่ใช่ศาสนาที่แค่เชื่อๆตามกันไป อาศัยศรัทธา ศาสนาพุทธความจริงเข้าลักษณะความเป็นศาสตร์มากกว่าเป็นศาสนา ไม่ได้มีพระเจ้าไม่ได้มีคำว่าต้องเชื่อ มีหลักธรรมคำสอนให้รามีเป้าหมาย เป้าหมายสูงสุดคือถ้าเราได้ปฏิบัติเราเป็นชาวพุทะที่แท้จริงแล้วเนี่ย จุดสูงสุดก็คือ”เราจะไม่ทุกข์อีกต่อไป” เพราะฉนั่นเรามีจุดหมายปลายทางคือความดับสนิทแห่งทุกข์ ไม่ใช่เพื่อไปอยุ่สวรรค์นิรันดร์ เพราะไม่มีอะไรในโลกนี้นิรันดร์ ในสามโลกนี้ไม่มีอะไรนิรันดร์ ฉนั้นจุดหมายปลายทางของพุทธศาสนาคือเพื่อความดับสนิทแห่งทุกข์ แล้วท่านสอนวิธีปฏิบัติเพื่อเข้าถึงความดับสนิทแห่งทุกข์ให้ เราจะต้องพึ่งตัวเอง ต้องช่วยตัวเอง ก้าวเดินไปตามเส้นทางที่พระพุทธเจ้าวางไว้ให้ งั้นเราต้องรู้หลัก ว่าหลักธรรมคำสอนที่แท้จริงนั้นเป็นอย่างไร เราจะได้ปฏิบัติได้ถูก แล้วหลังจากนั้นเราก็ลงมือปฏิบัติ เมื่อลงมือปฏิบัติแล้วเราจะเห็นผลของการปฏิบัติเป็นลำดับๆไป เราจะพบว่าความทุกข์ในใจเราสั้นลงๆ เคยทุกข์นานก็ทุกข์สั้น เคยทุกหนักก็ทุกข์น้อย ถ้าฝึกถึงขีดสุดคือไม่ทุกข์อีกต่อไป เป็นศาสตร์ที่ท้าให้พิสูตร ไม่ใช่ชวนให้เชื่อ เป็นความอหังการ กล้าหาญมาก ท้าให้พิสูตร ถ้าจะกล่าวคือ เอหิปัสสิโก จงกล่าวกับผู้อื่นว่า”มาลองดูเถิด” ไม่ใช่จงเชื่อเถิด ลองดูวิธีที่พระพุทธเจ้าวางไว้ให้ ลงมือทำแล้วดูผลด้วยตนเองว่าทุกข์มันน้อยลงไหม ถ้าเราพบว่าความทุกขืมันน้อยลงๆ สั้นลงๆ ความเชื่อมั่น ความศรัทธาที่มีต่อพระพุทธเจ้ามันก็จะเกิดขึ้น

ทุกวันนี้เราเป็นชาวพุทธแต่ชื่อ เราไม่ได้รู้คุณค่าจะพระพุทธศาสนาเลยว่าจะช่วยอะไรเราได้ ส่วนใหญ่ชาวบ้านเข้าวัดกัน เข้าไปหาความเฮง ไปหาหวยหาเบอร์ หาเลข ไปสะเดาะเคราห์ต่ออายุ ไม่ได้มุ่งไปเรียนธรรมะแท้ๆของพระพุทธศาสนา เมื่อไม่ได้เรียน ไม่ได้ศึกษาไม่ได้ปฏิบัติ ไม่เห็นผลของการปฏิบัติ ก็ไม่มีศรัทธา ศรัทธาของเราเนี่ยคลอนแคลน คนไทยจริงๆแล้วไม่ได้ศรัทธาอะไรเลย ประชาธิปไตยก็ไม่ได้ศรัทธา เผด็จการก็ไม่ได้ศรัทธา สัทธิอะไรก็ไม่ได้ศรัทธาทั้งนั้น ศรัทธาแต่ผลประโยชน์อย่างเดียว อะไรที่มีผลประโยชน์แล้วเอาอันนั้น แต่ถ้ามานับถือศาสนาก้มองเรื่องผลประโยชน์ ถ้าเข้าวัดแล้วเฮง เข้าวัดแล้วรวย เข้าวัดแล้วสุขภาพดีแล้วอายุยืน ทำอะไรก้มีคนรักพุดอะไรก้มีคนเชื่อ เนี่ยผลประโยชน์ทั้งนั้นเลย เขาไปก็หาแต่สิ่งเหล่านี้ มุ่งแต่เอาเปลือกซึ่งไม่มีสาระอะไรเท่าไหร่หรอก คนเราถ้าจะรวยจริงๆนะ ต้องการรวยแค่ไหนในความเป็นจริงแล้วที่เราอยากรวยเพราะเราคิดว่ารวยแล้วมีความสุข อยากมีชื่อเสียง มีตำแหน่งเกียรติยศ อยาหใคนยอมรับ ก้หวังว่าจะมีความสุขนั้นแหละ จริงๆคืออยากได้ความสุขคือหนีจากความทุกข์ แต่ว่าไปเอาความสุขของตนเองไปผูกไว้กับสิ่งอื่น ไว้กับคนอื่น
ถ้าได้ศึกษาพระพุทธศาสนา เรียนรู้เข้ามาจนแจ่มแจ้งในคำสอนของพระพุทธเจ้า ความทุกข์มันไม่เกิดขึ้นในใจ เมื่อความทุกข์มันไม่มี มันเป็นความสุขที่ไม่มีอะไรเปรียบเทียบ ความสุขที่คนในโลกนี้แสวงหาและรู้จักเนี่ยมันเป็นความสุขที่อิงอาศัยคนอื่น อิงอาศัยสิ่งอื่นตลอดเวลา ไม่รู้จักความสุขภายในของตัวเองซึ่งจะค้นพบขึ้นมาและมันเต้มและอิ่มอยุ่ในใจของตัวเอง ฉนั้นเราจะต้องมาเรียนให้รู้จักหลักของการปฏิบัติ ลงมือปฏิบัติแล้วเห้นผลของการปฏิบัติ เราจะรักพระพุทธเจ้า ไม่มีใครในดลกหรอกที่จะเข้าถึงหลักธรรมคำสอนอย่างนี้และเอามาสอนคนอื่นได้ ขนาดท่านเอามาสอนเรายังไม่ใช่ง่ายเลยที่จะตามท่านไปให้ได้ แต่ไม่เหลือวิสัยที่คนธรรมดาอย่างพวกเราจะไปได้ ธรรมะของพระพุทธเจ้าเป็นธรรมะปานกลาง ไม่ใช่ธรรมะที่ยากจนกระทั้งทำอะไรไม่ได้เลยและก็ไม่ใช่ง่ายที่ไม่ต้องทำอะไรแล้วก็ได้เลย วันนี้หลวงพ่อจจะบอกเส้นทางที่เราจะไปซึ่งความดับสนิทแห่งทุกข์ให้
หลักของการปฏิบัติในทางพระพุทธศาสนามีเรื่องของ ศีล สมาธิ การเจริญปัญญา ๓ บทเรียน
บทเรียนที่ ๑ ศีลสิกขา เรียนเพื่อจะรู้ว่าการรักษาศีลมีประโยชน์อะไร รักษาอย่างไร รักาอย่างไรให้รักษาได้ง่าย
บทเรียนที่ ๒ จิตสิกขา เป็นการเรียนเพื่อให้จิตเกิดความสุขความสงบ มีพลัง อันนี้เป็นบทเรียนที่1 ขั้นตอนที่ 1 อีกบทเรียนนึง ฝึกไปเพื่อให้จิตตั้งมั่นเป็นผู้รุ้ผุ้ตื่น ผุ้เบิกบาน จิตจะถอนตัวออกจากความคิดนึกปรุงแต่งไปอยู่ในดลกของความรับรู้ที่แท้จริง เรียกว่าตื่นขึ้นอย่างแท้จริง สมาธิชนิดนี้เกิดขึ้นแล้ว จิตจะเป้นผุ้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน ไม่ใช่สมาธิอย่างที่ฤาษีชีไพรเขาทำกัน สมาธิที่คนส่วนใหญ่นั่งที่ทำกัน ไม่ใช่สมาธิที่ทำไปเพื่อมรรคผลนิพพานหรอก ส่วนมากเป็นไปเพื่อความสุขความสงบ ตายไปไปเป็นพระพรหม ถ้าเราทำสมาธิส่วนใหญ่จะมุ่งไปเป็นพระพรหม ความสงบเท่านั้นเอง ส่วนสมาธิที่จะให้จิตตั้งมั่นขึ้นมาแล้วสามารถเรียนรู้ความจริงของชีวิต สมาธิอย่างนี้ไม่ค่อยมีคนรู้จัก เราจะต้องเรียนให้ได้สมาธิทั้งสองอย่างดีที่สุด แต่ถ้าทำได้อย่างเดียวต้องฝึกสมาธิชนิดที่จิตตั้งมั่น ไม่ใช่สงบ สมาธิแปลว่าความตั้งมั่นไม่ใช่ความสงบนะ เราส่วนใหญ่ชอบคิดว่าทำสมาธิแล้วสงบ สงบมันตื้นมาก นอกศาสนาพุทธก็มีสมาธิแบบนั้น แต่สมาธิขอชาวพุทธคือความตั้งมั่นของจิต

                จิตจะถอนตัวออกมาจากปรากฏการณ์มาเป็นผู้สังเกตุการณ์ จิตจะถอนตัวออกมาจากผู้แสดงมาเป็นผู้ดูผู้สังเกตุการณ์ เมื่อจิตถอนออกมาเป็นผู้ดูผู้สังเกตุการณ์แล้วมันจะเป็นปรากฏการณืทั้งหลายตามความเป็นจริง ถ้าเราเป็นนักมวย นักมวยเป็นผู้แสดงเองขึ้นไปชก ชกยังไงก้ตามบางทีเมาหมัด ในขณะที่คนที่นั่งเชียร์อยู่ข้างๆรู้หมดเลยว่าให้เตะอย่างโน้นให้ต่อยอย่างนี้ ตะโกนสอนกันโหวกเหวก คนสอนอยู่นอกเวลทีเลยนะ แต่ไอ้คนสอนน่ะขึ้นไปชกแล้วตาย ได้แต่สอนได้แต่ดู ทำไมมันสอนเก่ง เพราะมันได้แต่ดุมันเป้นคนวงนอก เหมือนสมิมันจะถอนตัวออกมาเป็นคนดู และมันจะเห็นทุกสิ่งทุกอย่างชัดเจน แม้แต่เวลาเราทำธุรกิจทำโปรเจคใหญ่ๆบางครั้งเราต้องจ้างที่ปรึกษา ค่าจ้างแพงมากเลยนะ ไอ้พวกที่ปรึกษาอะไรเนี่ยจริงๆไม่ได้รุ้เรื่องในหน่วยงานเท่าเราหรอก แต่เรารู้แบบคนวงใน ทำให้มองอะไรได้ไม่ชัดเจน สู้คนวงนอกมามองไม่ได้ ต้องไปจ้างคนอื่นเขามามองเรา เราก้เลยรู้จักตัดสินใจได้ถูกต้องมากขึ้น เราจะต้องถอนตัวเองออกมาเป็นคนดูให้ได้

บทเรียนที่ ๓ ปัญญาสิกขา เอาจิตที่ตั้งมั่นแล้วมาเรียนรู้ความจริงของกายของใจ รูปนามกายใจของตัวเอง มาเรียรู้ตัวเอง จนเข้าใจตัวเอง ถ้าเราเข้าใจตัวเองเมื่อไหร่เราจะไม่ทุกข์นะ ทุกวันนี้เราไม่เข้าใจความจริงของตัวเองเราถึงทุกข์ ไม่เข้าใจยังไง อย่างร่างกายนี้ต้องแก่ ร่างกายนี้ต้องเจ็บ ร่างกายนี้ต้องตาย เราไม่เข้าใจนะ เราอยากให้ไม่แก่ไม่เจ็บไม่ตายนะ พอแก่ขึ้นมาก้กลุ้มใจ พอเจ็บขึ้นมาก็กลุ้มใจ พอจะตายก็กลุ้มใจอีกนะ หรือจิตใจมันประสบกับอารมณ์ที่ดีบ้างไม่ดีบ้าง เจอของที่ชอบใจบ้างไม่ชอบใจบ้าง มันจะหมุนเวียนอย่างนี้เรื่อยๆไป และถ้าเรารู้ความจริงว่าทุกอย่าง ความรู้สึกทุกชนิดที่เกิดขึ้นในใจเป็นของชั่วคราว มาและก็ไปๆ  ความสุขมาแล้วก็ไป ความทุกข์มาแล้วก็ไป ความสงบมาแล้วก็ไป ความฟุ้งซ่านมาแล้วก็ไป ความดีความชั่วมาแล้วก็ไปหมดเลย ถ้ามันเห็นด้วยใจอย่างถ่องแท้แล้วเนี่ย ต่อไปไม่ว่าอะไรเกิดขึ้นในใจเรา ความสุขเกิดขึ้น เราจะไม่หลงระเริง เพราะใจรู้ว่าความสุขเป็นของชั่วคราว เวลาความทุกข์เกิดขึ้นใจไม่เศร้าหมองเพราะรู้ว่ามันเป็นของชั่วคราว ใจมันจะเข้าสู่ความเป็นกลางด้วยปัญญาอย่างแท้จริง จะไม่กระเพื่อมหวั่นไหว ไม่ดิ้นรน กบปรากฏการณ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้น นี่คือศาสตร์ของพระพุทธเจ้านะ พวกเราจะต้องเรียน

                ปัญญานั้นมีหลายระดับ ปัญญาขั้นต้นจะเห็นความจริงว่านี้ไม่ใช่เรา สุขทุกข์ดีชั่วไม่ใช่เรา ความจำไม่ใช่เรา ใจที่เป็นคนรู้ก้ไม่ไช่เรา จะรู้ความจริงย่างนี้ นี่คือปัญญาขั้นต้น เมื่อรุ้ว่าตัวเราไม่มี แล้วใครแก่ใครเจ็บใครตาย ร่างกายมันแก่ ร่างกายมันเจ็บ ร่างกายมันตาย ไม่ใช่เราแก่ ไม่ใช่เราเจ็บ ไม่ใช่เราตาย พอรูควมจริงเข้าไปแล้ว การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก การประสบสิ่งที่ไม่รัก ไม่สมหวังต่างๆ เป็นแค่อารมณ์ทางใจ เกิดแล้วก็ดับอยู่ตลอดเวลา ใจไม่หวั่นไหวนะ เพราะฉนั้นเวลาเผชิญกับปรากฏการณ์ใดๆก็ตาม ใจจะไม่สะทกสะท้านหวั่นไหว ใจมันจะเต็มจะอิ่ม มันจะมีความสุขอยู่ในทุกๆปรากฏการณ์  ในทุกสถานการณ์ ถ้าเราเข้ามาสู่จุดสุดท้ายนี้ได้นะว่าใจจะไม่กระเพื่อมหวั่นไหวไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในร่างกาย  ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในในจิตใจ ด้วยอาศัยการเจริญปัญญา เรียนรู้ความจริงของร่างกาย เรียนรู้ควาจริงของจิตใจ รู้ความจริงแล้วจิตใจจะคลายความยึดถือและก็หลุดพ้นเป็นอิสระอย่างแท้จริงขึ้นมา อันนี้เป็นการให้ภาพกว้างๆ

        

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น