วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

"โลภ โกรธ หลง" สิ่งกระตุ้นพื้นฐานของมนุษย์

ก่อนจะมาเขียนหัวข้อนี้ เนื่องจากเริ่มสังเกตุตัวเองและคนรอบข้างว่ามีกิเลสตัวหนึ่งที่เกิดขึ้นบ่อยมาก นั่นก็คือ"ความโกรธ" ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ง่ายและบ่อยมากที่สุดในชีวิตประจำวันของทุกคน ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยธรรมดา การขับรถบนท้องถนน การอ่านข่าวในโลกโซเชียลแล้วทำให้เกิดอารมณ์ร่วม และหากเราไม่รู้เท่าทันความโกรธนี้ ก็มีแต่จะเผาจิตใจเราให้ร้อนรุ่ม ร่างกายเกิดความเครียดและส่งผลออกมาทางหน้าตาให้ดูเศร้าหมองและอมทุกข์ นี่เป็นประสบการณ์ที่ได้เจอกับตัวเองและคนรอบข้าง ...จึงทำให้กลับมาคิดว่า แล้วเราจะมีวิธีจัดการกับความโกรธนี้ได้อย่างไรบ้าง ...จนกระทั่งได้มาเจอหนังสือเรื่อง ฝึกให้ไม่คิด ของพระริวโนะสุเกะ ได้กล่าวถึง "โลภ โกรธ หลง" สิ่งกระตุ้นพื้นฐานของมนุษย์ได้ลึกซึ้งและน่าฟังดังนี้ว่า



โลภ โกรธ หลง สิ่งกระตุ้นพื้นฐานของมนุษย์

ความจริงแล้วการมัวแต่คิดเรื่องอื่นจนไม่ได้สนใจคนที่อยู่ด้วยเป็นกระแสที่คนจำนวนมากหลีกเลี่ยงไม่ได้และส่วนใหญ่ก็ตกอยู่ในห้วงกระแสนี้

คนสองคนที่เพิ่งรู้จักกันจะยังใหม่ต่อกันมาก พูดให้เห็นภาพคือ เมื่อภาพที่เห็นยังใหม่อยู่ ใจก็จะเต้นตึกตักต่อสิ่งเร้าใหม่ๆ ดังนั้นเมื่อฝ่ายหนึ่งเปลี่ยนทรงผมเพียงเล็กน้อย อีกฝ่ายจะสังเกตได้ หรือถ้าการแสดงออกของฝ่ายหนึ่งดูขุ่นมัวแม้เพียงเล็กน่อย อีกฝ่ายก็กลัวว่าเขาจะเบื่อหรือเปล่านะและจะเปลี่ยนไปคุยเรื่องที่สนุกทันที

แต่เมื่อคุ้นเคยกับเรื่องราวของฝ่ายหนึ่งมากขึ้นแล้ว แม้สีหน้าของฝ่ายนั้นจะเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว แต่เมื่อมองดูด้วยสติรับรู้ที่หยาบๆกลับมองเห็นหน้าของฝ่ายนั้นเหมือนกับไม่ได้เปลี่ยนแปลงไป นี่คือความเบื่อหน่าย ที่พูดถึงกันวันต่อวัน คือเมื่อได้รับสิ่งเร้าแบบนี้พอแล้วและจะเริ่มเรียกร้องหาสิ่งเร้าอื่นๆ

เมื่อเป็นเช่นนี้ก็มีทั้งที่วิ่งเข้าหาเพศตรงข้ามคนใหม่และมีอีกหลายคนที่วิ่งหาคนรักในจินตนาการ แม้จะเรียกว่าคนรัก แต่ไม่ได้หมายถึงเพศตรงข้ามเป็นการเอาแต่คิดหมกมุ่นในสมองถึงสิ่งที่ตัวเองชอบหรือติดอกติดใจ เป็นการหลบเข้าเกราะกำบังในสมอง แล้วความสนใจที่มีต่ออีกฝ่ายก็จืดจางลงไป ระยะเวลาของความเบื่อหน่ายนี้มีทั้งคนเบื่อเร็วและคนเบื่อช้า ความเบื่อหน่าย สัมพันธ์ลึกซึ้งกับ "กิเลสตัณหา"

พวกเรารับรู้ข้อมูลต่างๆผ่านทางตา หู จมูก ลิ้นและร่างกายเสมอ การตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เกิดขึ้นมีพลังงานสำคัญที่เป็นตัวผลักดันในใจ อันเป็นยาพิษในใจสามตัว คือ  "โลภ โกรธ และหลง"

ข้อมูลที่มองเห็นด้วยตาและได้ยินด้วยหู พลังงานที่กระตุ้นใจจะทำให้เรียกร้องว่า "อยากได้อีก อยากได้อีก" พลังงานนั้นเรียกว่าความโลภ

เมื่อได้รับคำเยินยอจากใครสักคนที่ไม่คาดคิดมาก่อนและกำลังหลงระเริงอยู่ พลังของความโลภที่เอาแต่ไขว่คว้า อยากได้อีกก็ถูกกระตุ้นขึ้นมา ในทางตรงกันข้ามพลังงานที่กระตุ้นให้ผลักไสข้อมูลที่จะเข้ามาว่า "ไม่อยากรับรู้ ไม่อยากดู ไม่อยากฟัง" เรียกว่า ความโกรธ หรือเวลาที่ถูกคนอื่นพูดเสียดสี ถากถางและรู้สึกไม่พอใจ พลังของความโกรธที่ตั้งใจจะกำจัดเป้าหมายที่ไม่พึงปรารถนาให้พ้นไปจะถูกกระตุ้นว่า "ไม่อยากฟังเสียงนี้" 

โกรธในที่นี้ความหมายกว้างมาก รวมทั้งความคิดในแง่ลบว่า "ความท้อถอย" "การอิจฉาคนอื่น" "การไม่ได้ดั่งใจหวัง" "การเสียใจกับอดีต" "ความอ้างว้าง"  "ความเครียด" ซึ่งล้วนแต่เป็นรากฐานหนึ่งของความโกรธทั้งสิ้น ความรู้สึกเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นที่เหมือนเป็นการเติมน้ำมันให้พลังความโกรธมีชีวิต แม้จะเกิดกำลังต่อต้านเรื่องที่ได้รับรู้เพียงเล็กน้อยก็เรียกว่า "โกรธ"

ทุกครั้งที่ปล่อยให้ความรู้สึกติดลบที่กล่าวมานี้ไหลออกไป ปล่อยให้พลังงานที่ไม่ดีของความโกรธที่รวมตัวอยู่จำนวนมากทวีความรุนแรงขึ้น พลังนี้ก็มีแต่จะกลายเป็นต้นตอของความเครียดหรือสร้างนิสัยที่จมอยู่ในความคิดแง่ลบได้ง่าย

ความโกรธเหล่านี้เมื่อมากระทบก็เกิดการเขย่าหัวใจให้สั่นสะเทือนซ้ำแล้วซ้ำเล่าอีกหลายๆครั้ง เมื่อรู้ว่ามีใครสักคนพูดถึงตัวเองไม่ดีจนใจถูกครอบงำไปด้วยความโกรธแล้ว ความโกรธจะถูกจารึกพร้อมกับสิ่งเร้าที่รุงแรง ในระหว่างนั้นชั่วเวลาหนึ่งจะเกิดความคิดที่เจ็บปวด ทุกข์ทรมานกลิ้งขลุกๆอยู่ในหัวว่า
"พูดจาเช่นนั้นแย่จริงๆ" หรือ
"โอ้ ถ้าคนอื่นเชื่อตามนั้นจริงและดูถูกหยามฉันขึ้นมาจะทำอย่างไร"

ข้อความเดิมๆจะถูกทวนซ้ำหลายๆครั้ง ย้ำหลายๆรอบ พูดอีกแง่คือหน่วยความจำหลักของจิตถูกใช้ไปเพื่อการนี้จนไม่เหลือให้ใช้เพื่อเรื่องสำคัญอื่นๆ และในไม่ช้าเมื่อเวลาผ่านไป "ความโกรธ" เช่นนี้ก็จะไปค้างคาในใจและเราจะค่อยๆลืมมันไปเอง 

แต่อีกด้านหนึ่งนั้นข้อมูลที่ถูกจารึกไว้ในใจด้วยพลังความโกรธ ไม่ว่าเมื่อใดข้อมูลนั้นก็ยังคงเหลือซ่อนเร้นอยู่

กระบวนการลืมคือวิธีการลดความถี่และเวลาในการตอกย้ำข้อมูลเหล่านั้นให้น้อยลงด้วยสติ กล่าวคือ เป็นเพียงการลดทอนข้อมูลให้น้อยลงและก็ยังไม่มีสติรู้ตัวที่ชัดเจน เพราะข้อมูลยังคงมีอิทธิพลผสมอยู่ในการเคลื่อนที่ของจิต

เนื่องจากความคิดที่ดังสะท้อนไปมาเบาๆว่า "แย่แล้ว" หรือ "โอ้...ทำยังไงดี" เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วแล้วก็หายไป ดังนั้นเจ้าตัวเองก็ไม่รู้สึกตัวว่ากำลัง "เอ๊ะ..." และกลายเป็นว่าเกิดรู้สึกอึดอัดขึ้นมาโดยไม่รู้สาเหตุ เมื่อเป็นเช่นนี้ การไม่มีสติ หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือการที่ความคิดโผล่มาและหายไปในช่วงเวลาสั้นๆจนตั้งสติไม่ได้นั้น เป็นกลไกเกี่ยวพันกับความคิดที่เกิดขึ้นใหม่ต่อไปเรื่อยๆ

ขอให้พวกเราลองคิดดู
ตัวอย่างเช่น เริ่มเชื่อต่อด้วยการคิดว่า "เอ๊ะ ทำยังไงดี" ความคิดก็อาจเริ่มต้นขึ้นมาเองโดยไม่สนใจใครเลยก็ได้ว่า "ถ้างานนี้ล่มจะทำยังไง" หรือ "ถ้าพลาดไปแล้วโดนคนโน้นหาว่าบ้าจะทำยังไง"

จากนั้นความคิดที่บ่นพึมพำในใจก็จะยิ่งขยายเพิ่มปริมาณและยิ่งกินพื้นที่ของหน่วยความจำหลักมากขึ้น ทำให้รับรู้ภาพทิวทัศน์ที่เห็นตรงหน้าและบุคลิคลักษณะของคนได้ไม่ชัดเจน ทำให้จับสำเนียงเสียงธรรมชาติไม่ได้ แม้จะกินอะไรเข้าไปก็ไม่รู้สึกพึงพอใจ เนื่องจากความรู้สึกในการรับรสขาดหายไป เป็นต้น กลายเป็นว่าความพึงพอใจในชีวิตเรื่องที่ตนเองมีชีวิตมั่นคงได้หายไป

ในอีกด้านหนึ่ง ถ้าจะลองวิเคราะห์เรื่องการสูญเสียความพึงพอใจคงกล่าวได้ดังต่อไปนี้ แม้ตั้งใจจะ "ดู ฟัง สัมผัส" แต่ในความเป็นจริงเสียงรบกวนภายในหน่วยควาจำหลักไป ทำให้ข้อมูลสดใหม่เข้าไปไม่ได้

สมมติว่าเราใช้เวลา 10 วินาทีฟังคำพูดของใครสักคน แม้ในระหว่าง 0-1 วินาทีแรกจะฟัง แต่ 9 วินาทีที่เหลือก็จะเริ่มคิดว่า "ฝ่ายนั้นกำลังคิดถึงฉันว่าอย่างไรนะ" หรือบางทีเสียงรบกวนในอดีตก็จะดังสะท้อนก้องไปมาจนบั่นทอนประสาทสัมผัสทั้งห้า ทำให้เรารับรู้ได้ไม่ชัดเจน

ถ้าเป็นเช่นนี้ต่อไป
ใน 10 วินาทีความรู้สึกที่แท้จริงหายไป 9 วินาที
ใน 60 นาทีความรุ้สึกที่แท้จริงหายไป 54 นาที
ในไม่ช้าเมื่ออายุมากขึ้นแล้วมองย้อนกลับไปที่อดีต คงจะพบว่า "รู้สึกว่าเวลาหลายปีมานี้ช่างผ่านไปเร็วเกินไปนะ"นั้น ไม่มีทางเป็นอย่างอื่นไปได้ นอกเสียจากการรับรู้ที่แท้จริงของประสาทสัมผัสทั้งห้าถูกกลบด้วยเสียงรบกวนของความคิดที่สะสมอย่างมากมายตั้งแต่อดีต

ดังนั้นเมื่อเสียงรบกวนเป็นฝ่ายขนะความรู้สึกที่แท้จริงโดยสมบูรณ์ คนเหล่านั้นจึงมองว่าเลอะเลือน ไม่เพียงแต่ข้อมูงในอดีตที่ตกอยู่ภายใต้กาควบคุมอย่างสมบูรณ์แบบ แต่กับความเป็นจริงใหม่ๆก็รับรู้ไม่ได้ด้วย ดังนั้นเวลาคนเหล่านั้นเห็นหลายชายของตนจึงกลับหลงคิดว่าเป็นลูกชายตนเองไป เรื่องนี้เป็นเรื่องที่แก้อะไรไม่ได้เลย

ต้นตอใหญ่ของเรื่องทั้งหมเนี้คือ "การกระตุ้นด้วยความคิดแง่ลบว่าเรื่องจริงที่ปรากฎตรงหน้าธรรมดาเกินไป น่าเบื่อ" ความคิดจึงถูกตั้งโปรแกรมให้ไปทางลบทันทีโดยไม่สนใจอะไรเพื่อให้ได้สิ่งเร้าใหม่ๆมากระทบใจ

"โรคความคิด" คืออาการซึ่งขณะที่ป่วยด้วยการคิดก็ค่อยๆ "ไม่รับรู้" ทีละน้อยโดยไม่รู้สึกตัว จนกลายเป็นการหลงลืมไปพร้อมๆกัน เมื่อรู้เช่นนี้คงอยากห้ามไม่ให้ภายในใจพูดพึมพำเรื่องไร้สาระต่อไปทันทีทันใด ดังนั้นเราจึงเรียกอาการเบื่อเอียนกับสิ่งที่เห็นตรงหน้าและแสวงหาสิ่งเร้าอื่นมาเป็นแรงกระตุ้นใจว่า "ความหลง"

ทั้งๆที่คู่สนทนากำลังพูด แต่ใจกลับล่องลอย เอาแต่คิดซ้ำไปซ้ำมาว่า "เรื่องน่าเบื่อขนาดนี้ไม่สนใจแล้ว" อยากหนี ท้ายที่สุดก็ไม่มีอะไรฟังเข้าหูเลย

ความหลง คือกิเลสที่เรียกว่า ความไม่รู้ นั่นเอง


ความไม่รู้ ไม่ใช่ไม่มีการศึกษาหรือหัวไม่ดี แต่หมายถึง การที่ไม่รู้ว่าสติกำลังเคลื่อนไหวอยุ่ในร่างกายของตนอย่างไร หรือความคิดอย่างไรที่กำลังปั่นป่วนวกวนอยู่

พลังงานที่สูญเสียไปในระหว่างการคิด มีผลทำให้ปรพสาทสัมผัสต่างๆทั้วการมองเห็น การได้ยิน และการสัมผัสไม่เฉียบคม เพราะมัวแต่จดจ่ออยู่กับการคิดโน่นนี่ในสมองมากเกินไป ประสาทสัมผัสทางกายจึงทำงานแบบขอไปที จิตใจและร่างกายจึงไม่ไปในทิศทางเดียวกัน

การคิดทำให้สมองบางส่วนทำงานอย่างหนัก เราจึงจับข้อมูลของร่างกายและจิตใจไม่แม่นยำ จึงยิ่งทำให้ "ไม่รู้" เนื่องจากจับสีหน้าหรือน้ำเสียงที่เปลี่ยนไปของคู่สนทนาไม่ได้ชัดเจน เลยมักจะรู้สึกว่าทำหน้าตาแบบเดิมๆอีกแล้ว หน้าเบื่อจัง

ท้ายที่สุดเรื่องที่คิดอยู่ในหัวก็จะมีแต่ความคิดไร้สาระซ้อนทับกัน ไม่รับรู้เรื่องจริงที่เกิดขึ้น หรือไม่รับรู้แม้กระทั่งการเคลื่อนที่ของสติตนเอง "ความไม่รู้" ทำให้จิตหลบหนีจากสิ่งที่เกิดขึ้นจริงไปสู่ความคิดในสมอง ดังนั้นเมื่อปล่อยให้ พฤติกรรมการคิด ดำเนินต่อไปครั้งหนึ่ง พฤติกรรมที่คิดมากก็นำไปสู่นิสัยที่จมอยู่กับความคิดได้ง่าย แม้จะไม่ใช่เวลาที่ควรคิด ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหนก็หลีกเลี่ยงการจมอยู่กับความคิดไม่ได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น